1. ภาษีซื้อต้องห้าม กรณีกระเช้าของขวัญ
คำถาม : ซื้อกระเช้าของขวัญแจกลูกค้าในเทศกาล นำภาษีซื้อมาขอเครดิตได้หรือไม่
คำตอบ : ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อกระเช้าของขวัญมาแจกหรือให้เป็นของขวัญแก่ลูกค้าเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ โดยมีนามบัตรของบริษัทที่ระบุชื่อ ที่อยู่ และเครื่องหมายการค้าของบริษัทติดที่กระเช้าของขวัญดังกล่าว เป็นภาษีซื้อต้องห้ามมิให้นำไปหักออกจากภาษีขาย ตามมาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร และ ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
ส่วนภาษีขาย หากกระเช้าของขวัญดังกล่าวเป็นสิ่งของที่บริษัทพึงให้แก่ลูกค้าตามประเพณี ทางธุรกิจทั่วไปและมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควรแล้ว บริษัทไม่ต้องนำมูลค่าของกระเช้าดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร และ ข้อ 2(6) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)
2. แจกของขวัญนำมาเป็นค่าใช้จ่าย
คำถาม : บริษัทแจกของขวัญให้ลูกค้า บริษัทนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ เป็นจำนวนเท่าไรที่สรรพากรจะไม่ต้องให้มาบวกกลับและนำมาเป็นภาษีซื้อได้
หรือไม่
คำตอบ :
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ค่าใช้จ่ายนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราว ตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522)
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญแจกเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตาม มาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร และ ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
3. เช็คของขวัญให้พนักงานถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
4. จ้างทำ ส.ค.ส.
คำถาม : บริษัทจ้างทำ ส.ค.ส. โดยให้ ใส่โลโก้ของบริษัท ถามว่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
คำตอบ : หากผู้รับจ้างมิได้ผลิตขายเป็นปกติทั่วไป แต่เป็นการผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า ซึ่งสินค้าจะมีลักษณะเฉพาะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า โดยเมื่อผลิตสินค้าเสร็จแล้ว ลูกค้าตกลงจะยอมรับสินค้าที่ตรงตามคำสั่งของตนเท่านั้น กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ผู้ว่าจ้างจึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้ให้บริษัทในอัตราร้อยละ 3 ตาม ข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/25428ฯ แต่หากเป็นการผลิตขายเป็นปกติทั่วไปอยู่แล้ว การจ่ายเงินได้ดังกล่าวจะถือเป็นการซื้อสินค้า ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ตารางสรุปภาระภาษีกรณีการแจก แถม และสินค้าที่ใช้ไปในการส่งเสริมการขาย
กิจกรรมส่งเสริมการขาย
|
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากการขายสินค้าหรือบริการ
|
ภาษีเงินได้นิติบุคคล |
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
|
||
เสีย/+ภาษีขาย
|
ยกเว้น/ไม่เสีย
|
หักภาษีซื้อได้
|
ต้นทุนของสินค้า
ถือเป็นรายจ่าย
|
||
1. การแจกสินค้า (Free distribution)
1.1 การแจกสินค้าตัวอย่าง (Sampling) |
X
|
X
|
X
|
||
1.2 การแจกสินค้า/ให้ของขวัญตามเทศกาล |
X
|
X
|
X
|
||
1.3 การแจกโดยซื้อสินค้าอื่นไปใช้เป็นของแจก
|
X
|
X
|
X
|
||
1.4 การแจกสินค้าตัวอย่างให้ผู้จัดจำหน่าย |
X
|
X
|
X
|
||
2. การใช้คูปอง (Used Coupon)
2.1 คูปองแลกซื้อสินค้า |
X
|
X
|
|||
2.2 คูปองส่วนลดค่าสินค้า |
X
|
X
|
|||
2.3 คูปองสะสมแต้มตามแผนส่งเสริมการขาย |
X
|
X
|
|||
3. ของแถมที่ให้ผู้บริโภค (Premium)
3.1 ของแถมที่ใส่ในหีบห่อหรือในกล่องสินค้า |
X
|
X
|
X
|
||
3.2 ของแถมที่แนบติดไปกับสินค้า (On-Pack Premium) |
X
|
X
|
X
|
||
3.3 ของแถมแยกชิ้นอิสระที่ให้ต่างหากจากสินค้า (Near-pack) |
X
|
X
|
X
|
||
3.4 ของแถมที่ส่งให้ภายหลังการซื้อสินค้า/ใช้สินค้า |
X
|
X
|
X
|
||
3.5 ของแถมที่ส่งทางไปรษณีย์ (Free – in the mail Premium) |
X
|
X
|
X
|
||
3.6 ของแถมที่ใช้ชิ้นส่วนแลกซื้อ |
X
|
X
|
X
|
||
3.7 ของแถมที่มีมูลค่ามากกว่าสินค้า
|
X
|
X
|
|||
3.8 การแถมบริการหีบห่อ (Packaging) |
X
|
X
|
X
|
||
4. ส่วนลด (Discount)
4.1 ส่วนลดการค้าพร้อมการขาย
(Trade Discount)
|
X
|
X
|
X
|
||
4.2 ส่วนลดเงินสดพร้อมการขาย (Cash discount) |
X
|
X
|
X
|
||
4.3 ส่วนลดภายหลังที่เป็นรางวัลจากการส่งเสริมการขาย |
X
|
X
|
X
|
X
|
|
5. ของขวัญและของชำร่วย (Gift & Supplement)
5.1 ให้ในโอกาสเปิดร้าน, เทศกาล, แนะนำสินค้าใหม่ |
X
|
X
|
X
|
||
5.2 ใ ห้สินค้าอื่น, ให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ลูกค้า |
X
|
X
|
|||
6. ของรางวัล
6.1 รางวัลจากการแข่งขันหรือชิงโชค |
X
|
X
|
X
|
X
|
|
6.2 รางวัลหรือโบนัสที่ได้รับจากการส่งเสริมการขาย |
X
|
X
|
X
|
X
|
|
7. การบริจาคสินค้า(Donation)
7.1 บริจาคสินค้าให้องค์การสาธารณกุศล, สถานศึกษาเอกชน
|
X
|
X
|
|||
7.2 บริจาคสินค้าให้หน่วยราชการ/รัฐบาล สถานพยาบาลเอกชน |
X
|
X
|
|||
7.3 บริจาคสินค้าให้สำนักสงฆ์,มูลนิธิ/สมาคมที่ไม่อยู่ในรายชื่อประกาศกำหนดให้เป็นองค์การสาธารณกุศล,คณะบุคคลอื่น |
X
|