ความหมายและการคำนวณอากรแสตมป์

อากรแสตมป์

“อากรแสตมป์” เป็นสิ่งที่มักได้ยินกันบ่อยมาก ๆ เมื่อต้องดำเนินการทางกฎหมายหรือด้านภาษีใด ๆ ก็ตาม ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับความหมายและวิธีคำนวณอากรแสตมป์อย่างถูกต้องว่าต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

อาการแสตมป์ คืออะไร

อากรแสตมป์ หรือตราสาร คือ ภาษีอีก 1 ประเภทอันเป็นไปตามประมวลกฎหมายรัษฎากร ดำเนินการจัดเก็บในลักษณะของดวงแสตมป์ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องดำเนินการจัดเก็บคือ กรมสรรพากร ซึ่งรูปแบบของดวงแสตมป์ใช้สำหรับประทับไว้บริเวณส่วนด้านบนของเอกสารราชการต่าง ๆ และเอกสารใดก็ตามที่ทำการติดแสตมป์อากรนั้นสามารถใช้ในการยื่นเป็นหลักฐานในชั้นศาลได้

เอกสาร 28 ชนิดที่ต้องใช้อาการแสตมป์ประทับ

  1. เอกสารเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง
  2. เอกสารโอนใบหุ้น หุ้นกู้ พันะบัตร และใบรับรองหนี้
  3. เอกสารการเช่าซื้อทรัพย์สิน
  4. เอกสารการจ้างทำของ
  5. เอกสารกู้ยืม เอกสารตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
  6. เอกสารกรมธรรม์ประกันภัย
  7. เอกสารใบมอบอำนาจ
  8. เอกสารใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
  9. ตั๋วแลกเงิน หรือตราสาร และตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสาร
  10. เอกสารบิลออฟเลดิง
  11. เอกสารใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ / พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย
  12. เช็ค หรือหนังสือใด ๆ ที่ใช้แทนเช็ค
  13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
  14. เลตเตอร์ออฟเครดิต
  15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง
  16. เอกสารใบรับรอง
  17. เอกสารจำนำ
  18. เอกสารการค้ำประกัน
  19. ใบรับรองของคลังสินค้า
  20. เอกสารคำสั่งให้ส่งมอบของ
  21. เอกสารตัวแทน
  22. เอกสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
  23. เอกสารคู่ฉบับ หรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
  24. เอกสารหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัด
  25. เอกสารข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
  26. เอกสารข้อบังคับใหม่ หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
  27. เอกสารหนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
  28. เอกสารใบรับ

การคำนวณอากรแสตมป์

สำหรับอากรแสตมป์ 1 บาทของทุกวงเงิน 1,000 (หนึ่งพันบาท) โดยวิธีการคำนวณอากรแสตมป์ นำเลข 1,000 บาท หารด้วยจำนวนเงินที่จ้าง อาทิ ค่าจ้าง 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท) นำเลข 50,000 บาทเป็นตัวตั้ง แล้วทำการหารด้วย 1,000 บาท ผลลัพธ์เท่ากับ 50 บาท

หรือหากใครยังจำหลักการหารแบบคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีตัดเลข 0 ออก ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ง่าย และรวดเร็วอย่างมากทีเดียว เพียงแค่ตัดเลข 0 ออกก็จะได้ค่าผลลัพธ์ตัวเลขอากรแสตมป์ที่ต้องนำมาติดบนเอกสารแล้ว ในกรณีที่ทำการหารแล้วพบว่าผลลัพธ์เป็นเศษ มีวิธีการแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเงินข้าไป 1 บาท เพียงเท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนการคำนวนอากรแสตมป์สำหรับประทับบนเอกสารสำคัญ

การติดอากรแสตมป์ในกรณีการจ้างเกินจำนวน 200,000 บาท 

สำหรับการจ้างที่มีจำนวนเงิน 200,000 บาทขึ้นไป ในกรณีนี้ให้ทำการซื้อตราสารที่กรมสรรพากรตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับ 37) เรื่องวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการชำระแสตมป์อากร

ค่าอากรแสตมป์ของเอกสารแต่ละประเภท