สำหรับผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจ นอกเหนือจากเรื่องของกลยุทธ์ในการบริหารให้ได้ผลกำไรตรงตามเป้าหมายที่บริษัทได้ตั้งไว้แล้ว เรื่องเกี่ยวกับการยื่นเอกสารภาษีซื้อ สรุปภาษีขายด้วยวิธียื่นแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.36 ในการยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับธุรกิจที่ซื้อสินค้า / บริการจากบริษัทที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ โดยบริษัทต้องดำเนินการยื่นกับสรรพากรทุกเดือนอย่างเคร่งครัด
ความหมายและการยื่นแบบ ภ.พ.30
การยื่นแบบ ภ.พ.30 หมายถึงการยื่นเอกสารรายงานสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขายของผู้ประกอบการกับกรมสรรพากรในทุก ๆ เดือน แบบ ภ.พ.30 ดังกล่าวนี้จะเป็นเอกสารที่จะแสดงให้กรมสรรพากรทราบถึงข้อมูลการเสียภาษีซื้อ
อาทิ การซื้อวัตถุดิบทั้งประเภทสินค้า-บริการต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกิจการ การเสียภาษีขายจากยอดขายที่ขายออกไป มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนจำนวนเท่าใด ไม่ว่าในแต่ละเดือนจะไม่มีรายได้ไม่มีรายรับ ขาดทุน ผู้ประกอบการต้องดำเนินการยื่น แบบ ภ.พ.30 ต่อกรมสรรพากรตามปกติ
สำหรับเจ้าของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็ก หรือกิจการใหญ่ ในส่วนของผู้ประกอบการมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการไม่นาน และยังไม่มีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็ยังไม่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 แต่หากผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการ และมีรายได้มากกว่าปีละ 1.8 ล้านบาท พร้อมทั้งได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สิ่งที่ละเลยไม่ได้อย่างเด็ดขาดนั่นคือการ ยื่นแบบ ภ.พ.30 ที่กรมสรรพากรในเขตพื้นที่เดียวกับที่ตั้งสถานประกอบการ
โดยการยื่นนั้นก็ง่ายมาก สามารถยื่นได้ด้วยตัวเองกับทางกรมกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทั้งรูปแบบการยื่นที่สำนักงานหรือการยื่นผ่านออนไลน์ แต่สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ดำเนินการนำส่งแบบ ภ.พ.30 ภายใน 15 วัน จะส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับ หรือ เบี้ยปรับเงินเพิ่มขึ้นตามกฎหมายด้วย
ความหมายและการยื่นแบบ ภ.พ.36
สำหรับการยื่นแบบ ภ.พ.36 คือ การยื่นแบบแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มกับสรรพากรทุกเดือน ในกรณีที่บริษัท นิติบุคคลทำการซื้อสินค้า-บริการ กับบริษัทที่ทำการขาย ซึ่งไม่ได้ดำเนินการธุรกิจในประเทศไทย โดยนิติบุคคลสามารถยื่นแบบ ยื่นแบบ ภ.พ.36 กับสรรพากรผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้ โดยดำเนินการยื่นไม่เกิน 7 วันของเดือนถัดไป
และในปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่มีรูปแบบอาชีพที่สร้างรายได้จำนวนมากแม้ไม่ได้อยู่ในรูปแบบนิติบุคคล เช่น อาชีพขายสินค้าออนไลน์ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ระดับโลกในการจำหน่ายสินค้า รวมถึงการใช้บริการทำการตลาดออนไลน์ การซื้อโฆษณาออนไลน์ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็เข้าข่ายที่ผู้ประกอบการในไทยต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 ในทุกเดือนอย่างเคร่งครัด เนื่องจากบริษัทผู้ให้บริการตั้งอยู่นอกประเทศไทยนั่นเอง หากคุณมีธุรกิจรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท และทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว