นำส่งข้อมูลรายได้ร้านค้าออนไลน์ ประกาศฉบับใหม่จากสรรพากร

นำส่งข้อมูลรายได้ร้านค้าออนไลน์

นำส่งข้อมูลรายได้ร้านค้าออนไลน์ เป็นประกาศฉบับใหม่จากสรรพากร โดยให้แพลตฟอร์มอย่าง Shopee LAZADA นำส่งรายได้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์  โดยกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร ออกประกาศเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ให้แพลตฟอร์มต้อง ‘นำส่งข้อมูลรายได้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์’โดยจะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป

สรุปใจความสำคัญได้ว่า กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจัดทำ ‘บัญชีพิเศษ’ เพื่อนำส่งข้อมูลรายได้ร้านค้าออนไลน์ ให้กับกรมสรรพากรให้แพลตฟอร์มที่ให้บริการซื้อ-ขายสินค้านำส่งข้อมูลรายรับของผู้ประกอบการให้กับกรมสรรพากร โดยจะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ทางกรมสรรพากรกำหนดเงื่อนไขไว้ดังนี้

  1. อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในไทย
  2. มีหรือเคยมีรายได้ในรอบบัญชีเกิน 1,000 ล้านบาท (ไม่รวมแพลตฟอร์มที่อยู่ใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย) ต้องมีการทำบัญชีพิเศษ หรือ บัญชีที่แสดงข้อมูลรายรับของอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่ได้รับจากผู้ประกอบการ
  3. โดยต้องเตรียมรายการข้อมูลจัดทำบัญชีรายได้จากผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มนำส่งรายได้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เช่น รายรับค่าธรรมเนียม, รายรับค่านายหน้า, จำนวนเงินฐานในการคำนวณรายรับต่างๆ, เลขประจำตัวประชาชน, ข้อมูลบัญชีธนาคาร ฯลฯ
  4. อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต้องเชื่อมและนำส่งข้อมูล ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสรรพากรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
  5. โดยต้องนำส่งไปให้กรมสรรพากร ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ซึ่งการออกประกาศดักล่าว ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ แค่ Shopee, Lazada แต่ยังรวมไปถึง บริการส่งอาหารและสินค้า ไปจนถึงการบริการต่างๆ อาทิ , Line Man, Grab ฯลฯ ซึ่งสิ่งสำคัญผู้ประกอบการจะต้องรู้นั่นคือ การยื่นภาษี” อย่างถูกต้อง ถูกวิธี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหากแพลตฟอร์ม นำส่งข้อมูลรายได้ร้านค้าออนไลน์ โดยสรุปได้ดังนี้

รายได้ ที่เกิดจากการขายของออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8  มีภาษีที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล

 มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี 2 รอบ

  • ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) วันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายนของปีเดียวกัน
  • ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.90) วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคมของปีถัดไป
    และสำหรับรายได้ประเภทที่ 8 (40(8) ต้องยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน เป็นการยื่นภาษีกลางปี เพื่อสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมาด้ว

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากมีรายได้จากการขายทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาท ณ สรรพากรเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต และทุกเดือนต้องคำนวณมูลค่าสินค้าเพื่อนำส่งให้สรรพากรทุกเดือน ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ทั้งนี้หากมีประกาศเพิ่มเติมทาง Chicaccounting จะรีบมาสรุปให้เพื่อนๆ ทราบค่ะ หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบัญชีและภาษีสามารถทักสอบถาม Chicaccounting ได้เลยค่ะ ทางเรายินดีให้บริการ

 

ที่มา : กรรมสรรพากร