ภาษีน่ารู้ของธุรกิจขนส่ง

ธุรกิจขนส่ง

ธุรกิจขนส่งทั่วไป คือผู้ให้บริการการ ขนส่งสินค้า มีเป้าหมายเพื่อขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางด้วยวิธีการขนส่งทางน้ำ ทางบกหรือทางอากาศ รวมไปถึงการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการบรรจุหีบห่อ เพื่อนำส่งไปถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย

ในปัจจุบันธุรกิจดังกล่าวกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก โดยสาเหตุสำคัญมาจาก COVID -19 เป็นตัวเร่งให้การขนส่งเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายท่านหันมาให้ความสนใจกับการทำธุรกิจขนส่ง แน่นอนว่าในธุรกิจย่อมทีหลายอย่างให้บริหาร ทั้งค่าแรงของพนักงาน ค่างวดรถ ค่าน้ำมัน และค่าอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ  แต่สิ่งหนึ่งที่ที่จะขาดไปไม่ได้เลย นั่นคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษี ซึ่งคนส่วนใหญ่มักละเลยตรงส่วนนี้ วันนี้เราจึงนำความรู้เรื่องภาษี ธุรกิจขนส่งควรรู้ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจมาฝากกัน

ก่อนอื่นธุรกิจขนส่งจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีหลัก ๆ คือ

  1. กรณีที่ขนส่งทำหน้าที่ นำสินค้าไปถึงจุดหมายเพียงอย่างเดียว ไม่มีบริการก่อนหรือหลังนำสินค้าไปถึงที่หมาย

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บกับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ โดยสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบคือ
  1. หักค่าใช้จ่ายตามจริง คือ การหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงของกิจการ โดยจะต้องสามารถแสดงหลักฐานพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้
  2. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา

ซึ่งเจ้าของธุรกิจขนส่ง ที่เป็นบุคคลธรรมดา ต้องทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ

-ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน โดยสามารถยื่นด้วยตัวเองสำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์สรรพากร

-ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเจ้าของธุรกิจขนส่งที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องมีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจะใช้รอบระยะเวลาบัญชีในการคำนวนและกำหนดเวลาในการยื่นภาษี โดยยอดภาษีจะคำนวณจาก กำไรสุทธิคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด โดยทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ
  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปกติจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7

แต่ในธุรกิจขนส่งสินค้าทางบกได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะต้องเป็นการส่งสินค้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีการบริการหรืออื่น ๆ

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย

คือ ภาษีที่ผู้จดบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

โดยหากผู้ที่ว่าจ้างที่เป็นบริษัท จ้างผู้ประกอบการในการจัดส่งสินค้าไปยังต้นทาง ผู้จ้างที่เป็นบริษัทหรือนิติบุคคล จะทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1.0

  1. กรณีที่ขนส่งทำหน้าที่ ขนส่งสินค้าไปยังที่หมายและมีการบริการอื่นก่อนหรือหลังนำสินค้าไปส่ง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บกับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ โดยสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบคือ

  • หักค่าใช้จ่าย ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงของกิจการและจะต้องสามารถแสดงหลักฐานพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้
  • หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา

ซึ่งเจ้าของธุรกิจขนส่ง ที่เป็นบุคคลธรรมดา ต้องทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ

  • ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน โดยสามารถยื่นด้วยตัวเองสำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์สรรพากร
  • ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

สำหรับเจ้าของธุรกิจขนส่งที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องมีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจะใช้รอบระยะเวลาบัญชีในการคำนวนและกำหนดเวลาในการยื่นภาษี โดยยอดภาษีจะคำนวณจาก กำไรสุทธิคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด โดยทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ

  • ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  • ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปกติจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ถึงแม้ว่าในธุรกิจขนส่งสินค้าทางบกได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีเพิ่ม แต่ถ้าหากเป็นขนส่งที่มีบริการอื่น นอกจากการจัดส่งสินค้า เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้าน จะต้องทำการจด VAT ภายใน 30 วัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

คือ การหักภาษีไว้ทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงิน พอมีการจ่ายเงินเกิดขึ้นแล้ว ฝั่งคนที่รับเงินถือว่ามีรายได้ ซึ่งคนที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดจะต้องส่งภาษีสิ้นปี ตามแบบ ภ.ง.ด. 90, 91 กรณีเป็นบุคคลธรรมดา หรือ ภ.ง.ด. 50 กรณีเป็นนิติบุคคล

ซึ่งในกรณีขนส่งที่เป็นทั้งขนส่งและบริการจะต้องโดนหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3

สรุปภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการขนส่ง

ภาษีขนส่ง

  1. กรณีที่ขนส่งทำหน้าที่ นำสินค้าไปถึงจุดหมายเพียงอย่างเดียว ไม่มีบริการหลังนำสินค้าไปถึงที่หมาย

ภาษีเงินได้

  • บุคคลธรรมดา ต้องมีการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • บริษัท ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

  • ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งจะโดนหักภาษี ณ จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคลในอัตราร้อยละ 1

ขนส่ง

  1. กรณีที่ขนส่งทำหน้าที่ ขนส่งสินค้าไปยังที่หมายและมีการบริการอื่นก่อนหรือหลังนำสินค้าไปส่ง

ภาษีเงินได้

  • บุคคลธรรมดา ต้องมีการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • บริษัท ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้ถึง 8 ล้าน โดยต้องจดภายใน 30 หลักมีรายได้ถึงเกณฑ์

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

  • ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งจะโดนหักภาษี ณ จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคลในอัตราร้อยละ 3

จะเห็นได้ว่าธุรกิจขนส่งเป็นธุรกิจที่ดูเหมือนไม่ได้มีความซับซ้อนในด้านภาษีมากนัก โดยต้องพิจารณาสถานะธุรกิจของตัวเองให้ดีว่าอยู่ในกรณีไหน ตามที่อธิบายไว้ข้างต้น เพื่อที่จะสามารถยื่นแบบภาษีได้อย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้โดนเบี้ยปรับ และเสียเวลาในการแก้ไข หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้ที่ CHIC ACCOUNTING