ภาษีรถยนต์ อัปเดตปี 2567 แบบเข้าใจง่าย

ภาษีรถยนต์

ภาษีรถยนต์ เป็นหน้าที่สำคัญสำหรับคนมีรถ คือ การชำระภาษีรถประจำปี  ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ เนื่องจากมีผลทางกฎหมาย หากละเมิดอาจถูกดำเนินคดีได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า รถยนต์ที่เราขับหรือ รถจักรยานยนต์ที่เราขับขี่นั้น ต้องเสียภาษีต่อปีเท่าไร วันนี้ Chicaccounting ได้รวบรวมข้อมูลราคาภาษีรถยนต์แต่ละประเภท รวมทั้งรถจักยานยนต์และรถไฟฟ้า แบบสรุปเพื่อให้เข้าใจง่าย พร้อมตัวอย่างการคำนวน

โดยการคำนวณภาษีรถยนต์นั้น จะขึ้นอยู่กับรถแต่ละประเภท และขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) ซึ่งการคำนวณภาษีรถยนต์แต่ละประเภทจะมีวิธีคำนวณไม่เหมือนกัน นอกจากนี้อายุการใช้งานของรถยนต์ก็ใช้การคำนวนที่แตกต่างกันด้วย ดังนี้

  1. ภาษีรถยนต์ ส่วนบุคคลหรือทะเบียนป้ายดำ (พื้นขาว ตัวหนังสือดำ)

วิธีการคำนวณภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลหรือทะเบียนป้ายดำ เช่น รถเก๋ง รถซีดาน รถกระบะ ที่จดทะเบียนรถนั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่งขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ (cc) โดยรถยนต์ต้องอายุไม่เกิน 5 ปี คิดอัตราภาษี ดังนี้

  • 1 – 600 cc อัตราภาษี cc ละ 50 สตางค์
  • 601 – 1800 cc อัตราภาษี cc ละ 1.50 บาท
  • ตั้งแต่ 1,801 cc ขึ้นไป อัตราภาษี cc ละ 4 บาท

ยกตัวอย่างเช่น วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ TOYOTA REVO STANDARD  มีขนาดเครื่องยนต์ 2,393 cc. จะมีการเรียกเก็บภาษีตามนี้

  • การเก็บภาษีรถยนต์ 1 – 600 cc [600 x 0.5 บาท] = 300 บาท
  • การเก็บภาษีรถยนต์ 601 – 1,800 cc [1,800 – 600 = 1,200 cc x 1.50 บาท] = 1,800 บาท
  • การเก็บภาษีรถยนต์ตั้งแต่ 1,801 cc ขึ้นไป [2,393 – 1,800 = 593 cc x 4 บาท] = 2,372 บาท

รวมภาษีรถยนต์ต้องจ่ายทั้งหมด คือ 300 + 1,800 + 2,372 = 4,472 บาท/ปี

 

รถกระบะ

TOYOTA REVO STANDARD  4X2 ปี 2022

       สำหรับรถยนต์อายุ 6 ปี ขึ้นไป มีสัดส่วนการเสียภาษีรถยนต์ลดลง ดังนี้

  • รถอายุรถ 6 ปี ได้ส่วนลด 10% ต่อภาษีรถยนต์ 4,472 – 10% = 4,024.8 บาท
  • รถอายุรถ 7 ปี ได้ส่วนลด 20% ต่อภาษีรถยนต์ 4,472 – 20% = 3,577.6 บาท
  • รถอายุรถ 8 ปี ได้ส่วนลด 30% ต่อภาษีรถยนต์ 4,472 – 30% = 3,130.4 บาท
  • รถอายุรถ 9 ปี ได้ส่วนลด 40% ต่อภาษีรถยนต์ 4,472 – 40% = 2,683.2 บาท
  • รถอายุรถ 10 ปี ขึ้นไป ได้ส่วนลด 50% ต่อภาษีรถยนต์ 4,472 – 50% = 2,236 บาท
  1. ภาษีรถยนต์ ป้ายทะเบียนน้ำเงิน (ป้ายขาวตัว หนังสือน้ำเงิน)

การคำนวณภาษีรถยนต์ป้ายทะเบียนน้ำเงิน เช่น รถตู้ หรือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง สามารถใช้คำนวณภาษีรถยนต์ไฟฟ้าได้ แต่จะไม่มีส่วนลดสำหรับรถอายุเกิน 6 ปี แบบรถยนต์ป้ายทะเบียนดำ โดยมีวิธีคำนวณภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักรถแบบเหมา ดังนี้

  • น้ำหนักรถ 0 – 500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 150 บาท
  • น้ำหนักรถ 501 – 750 กิโลกรัม – เก็บภาษี 300 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กิโลกรัม – เก็บภาษี 800 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 1,000 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กิโลกรัม – เก็บภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 1,600 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 1,900 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 2,200 บาท
  • น้ำหนักรถ 3,001 – 3,500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 2,400 บาท
  • น้ำหนักรถ 3,501 – 4,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 2,600 บาท
  • น้ำหนักรถ 4,001 – 4,500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 2,800 บาท
  • น้ำหนักรถ 4,501 – 5,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 3,000 บาท
  • น้ำหนักรถ 5,001 – 6,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 3,200 บาท
  1. การคำนวณ ภาษีรถยนต์ ป้ายเขียว (ป้ายขาว ตัวหนังสือเขียว)

การคำนวณภาษีรถยนต์ป้ายเขียว เช่น รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง รถกระบะ หรือ รถตู้ขนของ จะคำนวณเป็นแบบเหมา และไม่มีส่วนลดสำหรับรถอายุเกิน 6 ปีขึ้นไป แบบรถยนต์ทะเบียนป้ายดำ มีวิธีคำนวณภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักรถแบบเหมา ดังนี้

  • น้ำหนักรถ 0 – 500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 300 บาท
  • น้ำหนักรถ 501 – 750 กิโลกรัม – เก็บภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กิโลกรัม – เก็บภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กิโลกรัม – เก็บภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 1,650 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 1,950 บาท
  • น้ำหนักรถ 3,001 – 3,500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 2,250 บาท
  • น้ำหนักรถ 3,501 – 4,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 2,550 บาท
  • น้ำหนักรถ 4,001 – 4,500 กิโลกรัม – เก็บภาษี 2,850 บาท
  • น้ำหนักรถ 4,501 – 5,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 3,150 บาท
  • น้ำหนักรถ 5,001 – 6,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 3,450 บาท
  • น้ำหนักรถ 6,001 – 7,000 กิโลกรัม – เก็บภาษี 3,750 บาท
  • น้ำหนักรถตั้งแต่ 7,001 กิโลกรัมขึ้นไป – เก็บภาษี 4,050 บาท
  1. ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า

เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีเครื่องยนต์ในการคิดอัตราค่าต่อทะเบียนประจำปี เหมือนรถยนต์ทั่วไป จึงให้มีวิธีคำนวนภาษีรถยนต์ในรูปแบบตามน้ำหนักรถยนต์เช่นเดียวกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน

  1. ภาษีรถจักรยานยนต์

นอกจากรถยนต์ที่จะต้องเสียภาษีแล้ว รถจักรยานยนต์ ก็ต้องมีการจ่ายภาษีรถจักรยานยนต์ประจำปีเช่นเดียวกัน โดยค่าต่อทะเบียนประจำปีเป็นรายคัน จำนวน 100 บาทต่อปี ส่วนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จะถูกเรียกเก็บเพียงครึ่งเดียวนั่นคือ ปีละ 50 บาทเท่านั้นละ หากการชำระภาษีรถจักรยานยนต์ประจำปีล่าช้าจะมีค่าปรับในอัตราร้อยละ 1 บาทต่อเดือนและหากขาดการต่อภาษีเกิน 3 ปี จะส่งผลให้ทะเบียนรถจักรยานยนต์ถูกระงับไม่สามารถดำเนินการทางทะเบียนได้

จากข้อมูลที่สรุปเรื่องการคำนวณและการจ่ายภาษีรถประจำปี คงทำให้หลายคนนำไปรับใช้กับการคำนวณภาษีรถของท่านได้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับค่าใช้จ่ายในการจ่ายภาษีรถประจำปี หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถทักหา Chicaccounting เพื่อสอบถามเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

 

ที่มา : https://www.dlt.go.th/