สรุปคำสั่งสรรพากร “ภาษีแหล่งรายได้จากต่างประเทศ หากมีการโอนเข้าไทยต้องเสียภาษีเงินได้” เริ่ม 1 ม.ค.67
ก่อนพูดถึงภาษีแหล่งรายได้จากต่างประเทศ Chic Accounting ต้องขอย้อนความก่อนว่า หลักการในการเสียภาษีของไทยจะประกอบด้วย
- แหล่งเงินได้ เงื่อนไขคือ แหล่งรายได้จากไทย หรือ แหล่งรายได้จากต่าประเทศ
- หลักถิ่นที่อยู่ มีเงื่อนไข คือ อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน และมีการนำรายได้ในปีนั้นเข้ามา จึงจะต้องนำมาคำนวณภาษีในปีนั้น
ซึ่งจะต้องมีครบทั้ง 2 เงื่อนไข คือ แหล่งเงินได้ และแหล่งที่อยู่ จึงจะนำเงินได้มาคำนวณเพื่อเสียภาษี
ยกตัวอย่างเช่น
ภาษีเงินได้ในประเทศ
-
ผู้มีรายได้ในประเทศไทย และมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษี
-
ผู้มีรายได้ในประเทศไทย แต่อยู่ไทยไม่ครบ 180 วัน จะต้องนำเงินได้ที่ได้จากประเทศไทยมาคำนวณเพื่อเสียภาษี
ภาษีแหล่งรายได้จากต่างประเทศ
-
มีแหล่งเงินได้จากต่างประเทศ มีการเดินทางเข้ามาและอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน ของปีนั้น พร้อมทั้งนำเงินได้จากต่างประเทศที่เกิดในปีนั้นเข้ามาด้วย กรณีดังกล่าว เงินได้นั้นจะไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี
-
มีแหล่งเงินได้จากต่างประเทศ มีการเดินทางเข้ามาและอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน ของปีนั้น แต่ไม่ได้นำเงินได้เข้ามาในปีเดียวกัน กรณีดังกล่าว เงินได้นั้นจะไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี
-
มีแหล่งเงินได้จากต่างประเทศ มีการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยไม่เกิน 180 แต่มีการนำเงินได้เข้ามาในปีเดียวกัน กรณีดังกล่าว เงินได้นั้นจะไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี
ซึ่งหลักดังกล่าว ทำให้คนส่วนใหญ่ มักมีการวางแผนภาษีโดยการอยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 180 วัน หรือ นำเงินได้จากต่างประเทศเข้ามาในเทศไทยในปีถัดไปแทน
แต่ ณ วันที่ 15 กันยายน สรรพากรได้มีการออกคำสั่ง ป. 161/2566 มาเปลี่ยนแนวทางปฎิบัติในการตีความกฎหมายใหม่ ภาษีแหล่งรายได้จากต่างประเทศ เป็นกรณีที่มีเงินได้ต่างประเทศ และผู้มีเงินได้อยู่ในไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป ไม่ว่าจะนำเงินได้เข้าปีไหน ให้เอามาคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีนั้น เนื่องจากประเทศไทยได้มีการเข้าร่วมเป็นสมาชิก Global Forum on Transparency and exchange of information for tax Purposes และลงนามในความตกลงพหุภาคว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริการภาษี และความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติ ทำให้กรมสรรพากรจำเป็นต้องปรับปรุงการจัดเก็บภาษี (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/72334 )
โดยสามารถสรุปคำสั่งสรรพากรได้ดังนี้
-
หากมีเงินได้จากต่างประเทศ มีการเดินทางเข้ามาและอยู่ในประเทศเกิน 180 วัน ไม่ว่าจะนำเงินได้เข้าปีไหน ให้เอามาคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีนั้น
-
หากมีเงินได้จากต่างประเทศ มีการเดินทางเข้ามาแต่อยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 180 วัน ไม่ว่าจะนำเงินได้เข้าปีไหน ก็ไม่ต้องเอาเงินได้มาเสียภาษี
นอกจากนี้ยังมีคำถามที่ตามมาอีกว่า หากมีเงินได้ที่ต่างประเทศ และมีการเสียภาษที่ต่างประเทศแล้ว จะต้องมีการเสียภาษีที่ประเทศไทยอีกหรือไม่
ในกรณีที่อยู่ไทยไม่ครบ 180 วัน ไม่ว่าจะนำเงินได้เข้าปีไหน ก็ไม่ต้องเอาเงินได้มาเสียภาษี
ในกรณีที่อยู่ไทยครบ 180 วัน
ในกรณีดังกล่าว จะต้องพิจารณาดังนี้
- ต้องพิจารณาว่า ประเทศที่เราเสียภาษีมีการทำอนุสัญญาภาษีซ้อน (Double Tax Agreement) กับประเทศไทยหรือไม่ (สามารถดูอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงได้ที่นี่ https://www.rd.go.th/765.html)
- หากมีการทำอนุสัญญา ภาษีซ้อน (Double Tax Agreement) กับประเทศไทย จะต้องพิจารณาเงื่อนไขที่ทั้ง 2 ประเทศ ได้มีการตกลงกัน โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น 2 เงื่อนไข คือ
-
มีเงื่อนไขในการยกเว้นภาษี ในกรณีนี้ ผู้ที่เสียภาษีในต่างประเทศแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษีในประเทศไทย แม้จะมีการนำเงินได้เข้ามาและอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน
-
มีเงื่อนไขในการเครดิตภาษี ในกรณีที่ผู้เสียภาษีได้มีการจ่ายภาษีในต่างประเทศแล้ว สามารถนำภาษีที่จ่ายมาเครดิตกับภาษีที่ต้องจ่ายในไทยได้ ยกตัวอย่างเช่น จ่ายภาษีในต่างประเทศแล้ว 200 บาท หากอยู่ในไทยเกิน 180 วันและมีการนำรายได้มาคำนวณเพื่อเสียภาษี 220 บาท ผู้เสียภาษีจะสามารถนำเครดิต 200 บาท ที่จ่ายภาษีในต่างประเทศมาใช้ ทำให้ผู้เสียภาษีจ่ายภาษีในไทยแค่ 20 บาท
**** ทั้งนี้อาจมีรายละเอียดอื่น ๆ ผู้เสียภาษีจึงควรทำการศึกษาอนุสัญญาภาษีซ้อน (Double Tax Agreement) อย่างถี่ถ้วน เพื่อลดข้อผิดพลาดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
หลักจากที่ทุกคนอ่านข้อสรุปแล้ว คงทำให้หลายๆ คนเข้าใจคำสั่งสรรพกรฉบับนี้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ณ ปัจจุบันยังมีแค่การออกคำสั่งจากสรรพากรเพียงฉบับเดียว ยังต้องรอดูกันต่อไปว่าจะมีการเปลี่ยนกฎหมาย หรือออกแนวทางอะไรบ้างเพื่อมารองรับคำสั่งดังกล่าว หากมีประกาศเพิ่มเติมทาง Chic Accounting จะนำมาสรุป เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น