ภาษี Affiliate ที่คุณควรรู้ ฉบับ 2024

ภาษี Affiliate

ภาษี Affiliate ที่คุณควรรู้

ภาษี Affiliate หมายถึง ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ Affiliate ไม่ว่ารายได้จะมาจาก Shopee Lazada หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ผู้มีรายได้ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และมีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกฎหมาย วันนี้ Chic accounting ได้สรุปภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้จากค่า Affiliate ไว้ดังนี้ค่า

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Affiliate Marketing กันก่อนนะคะ

Affiliate Marketing หมายถึง รูปแบบการทำการตลาดให้กับบุคคลหรือบริษัทอื่นด้วยการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านช่องทางของตนเอง โดยอาจใช้การคลิก Banner หรือ Link ID ซึ่งบุคคลที่เข้ามาช่วยในการทำ Affiliate จะได้รับค่าตอบแทนหลังจากการขายเสร็จสิ้น ซึ่งในปัจจุบัน Affiliate Marketing กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้ง Shopee Lazada หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ต่างก็มีการนำ Affiliate Marketing มาใช้ในการทำการตลาด ทำให้หลายคนหันมาสนใจในการทำรายได้จาก Affiliate มากขึ้น

ต่อมาเราจะมาทำความรู้จักกับประเภทของแหล่งรายได้และภาษีที่เกี่ยวข้องกับค่า Affiliate

  1. เงินได้จากค่า Affiliate จาก Shopee และ Lazada จัดอยู่ในประเภทไหน

ค่าคอมมิชชั่นหรือค่าจ้างทำงานเป็นรายครั้ง จัดอยู่ในประเภทที่ 2 เงินได้ตามมาตรา 40 (2) ตามประมวลรัษฎากร

  1. ภาษี Affiliate ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล
      • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บกับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ สำหรับรายได้ประเภท 40 (2) สามารถหักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
        • บุคคลธรรมดา ต้องทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ 
          • ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน โดยสามารถยื่นด้วยตัวเองสำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์สรรพากร
          • ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
      • ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับผู้รับค่าคอมมิชชั่นที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท เป็นห้างหุ้นส่วน ห้างร่วมค้า หรือเป็นคณะบุคคล ต้องมีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจะใช้รอบระยะเวลาบัญชีในการคำนวนและกำหนดเวลาในการยื่นภาษีซึ่งจะเริ่มต้นเมื่อต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้ โดยยอดภาษีจะคำนวณจาก กำไรสุทธิคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด โดยทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ
          • ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
          • ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี
  •     ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

คือ ภาษีที่ผู้จดบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดา แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไปซึ่ง

สำหรับผู้มีรายได้จากค่า Affiliate จะถูกหัก ณ ที่จ่าย 3% หรืออาจหักในอัตราก้าวหน้า โดยผู้รับรายได้ควรศึกษาการถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่ายที่แพลตฟอร์มนั้น และเก็บหลักฐานการหัก ณ ที่จ่ายไว้เสมอเพื่อใช้ในการยื่นภาษี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม

คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปกติจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7

สำหรับผู้มีรายได้จากค่า Affiliate เกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องทำการจด ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

 

หากใครมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับรายได้จากค่า Affiliate  สามารถทักสอบถามเราเพิ่มเติมได้เลยค่ะ Chic accounting พร้อมให้คำปรึกษา วางแผนภาษี และรับทำบัญชี อย่างมีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมให้กับทุกท่านค่ะ

 

 

ที่มา: https://www.rd.go.th/26218.html

#รับทำบัญชี #ยื่นภาษี #Affiliate