วางแผนภาษีคลินิกและธุรกิจเสริมความงาม ง่ายๆ ใน 3 ขั้นตอน ปี 2567

วางแผนภาษีคลินิกและธุรกิจเสริมความงาม

วางแผนภาษีคลินิกและธุรกิจเสริมความงาม คลินิกและธุรกิจเสริมความงามเป็นที่นิยมอย่างมากในเมืองใหญ่ของประเทศไทย ทั้งคลินิกเสริมความงาม คลินิกรักษาสิวดูแลผิวพรรณ รวมทั้งการทำศัลยกรรมตกแต่ง หรืออื่นๆ ซึ่งมีแพทย์ให้ความสนใจและต้องการเป็นเจ้าของกิจการ แต่การจะประกอบธุรกิจเสริมความงามให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่แค่มีหมอที่เก่งมีความเชี่ยวชาญ หรือการมีเครื่องมือที่ทันสมัยเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการบริหารจัดการเงิน ทั้งในเรื่องต้นทุน ค่าใช้จ่ายและเรื่องภาษี ที่หลายคนมักพลาดในจุดนี้ CHIC ACCOUTING จึงรวบรวมวิธีการวางแผนภาษีธุรกิจเสริมความงามเบื่องต้นมาฝากทุกคน โดยใช้ 3 วิธี ดังนี้

1.ในการ วางแผนภาษีคลินิกและธุรกิจเสริมความงาม ใบอนุญาตเปิดกิจการสถานพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญ

การเปิดคลินิกเสริมความงาม นอกจากจะต้องมีแพทย์ประจำที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้ตรวจและรักษา รวมทั้งสั่งจ่ายยา ทำเลที่เหมาะสม และบุคลากรฝ่ายต่างๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลย คือ เจ้าของกิจการคลินิกเสริมความงามจะต้องยื่นขอใบอนุญาตเปิดเป็น “สถานพยาบาล” ที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้และในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นอัตราเหมาในอัตราร้อยละ 60 ของเงินได้

โดยการเปิดสถานพยาบาลจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. สถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน เช่น คลินิกทันตกรรม คลินิกเวชกรรม คลินิกกายภาพบำบัด ซึ่งหากเป็นคลินิกเสริมความงามที่ไม่มีการผ่าตัดและต้องมีการพักฝืน จะขออนุญาตในรูปแบบดังดล่าว
  2. สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยค้างคืน เช่น โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลและการบำรุงครรภ์ที่สามารถคลอดลูกได้

แต่หากเปิดคลินิกแบบไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่มีใบประกอบกิจการสถานพยาบาล นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ธุรกิจยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย เนื่องจากรายได้ของธุรกิจ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (8)

ฉะนั้นเจ้าของกิจการควรขอใบใบประกอบกิจการสถานพยาบาลให้ถูกต้อง เพื่อให้ถูกกฎหมาย และได้รับผลประโยชน์จากการยกเว้นการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย

 2.เช็กเงินได้ ก่อนการวางแผนภาษี

การเปิดคลินิกเสริมความงามจะต้องมีแพทย์จะต้องมีแพทย์ประจำที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ เป็นผู้ตรวจและรักษา รวมทั้งสั่งจ่ายยา ซึ่งแพทย์ที่มาประจำที่คลินิกหรือเจ้าของกิจการที่เป็นแพทย์อาจมีรายได้หลายทาง ฉะนั้น เพื่อให้วางแผนภาษีในส่วนของการหักค่าใช้จ่ายและการลดหย่อนภาษีที่ถูกต้อง

ซึ่งเงินได้ของแพทย์จะมีด้วยกัน 5 ประเภท คือ

  1. กรณีเป็นลูกจ้างได้รับเงินเดือนค่าจ้าง เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเงินส่วนนี้จะเป็นเงินที่แพทย์ได้จากโรงพยาบาลที่ทำงานประจำ เช่น เงินเดือน เงินโอที เงินจากการขึ้นเวร ซึ่งแพทย์สามารถนำเงินนี้ไปหักค่าใช้จ่ายได้ 50 % ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  2. กรณีได้รับเงินค่าจ้างจากการรับจ๊อบพิเศษ เช่น การรับเข้าเวรจากโณงพยาบาลที่ไม่ประจำ เงินได้จากตำแหน่งและหน้าที่พิเศษ โดยไม่คำนึงว่าจะทำการรักษาพยาบาลหรือไม่ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร แพทย์สามารถนำเงินนี้ไปหักค่าใช้จ่ายได้ 50 % ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  3. กรณีได้รับเงินได้จากการเปิดคลินิกหรือสถานพยาบาลที่ไม่มีเตียง เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร แพทย์สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ หักค่าใช้จ่ายตามจริง และหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
  4. กรณีได้รับเงินได้จากการเปิดสถานพยาบาลมีเตียง หรือ มีขายยาในคลินิก เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร แพทย์สามารถนำเงินนี้ไปหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60 % หรือ หักค่าใช้จ่ายตามจริง
  5. กรณีมีรายได้เกี่ยวกับศัลยกรรมใบหน้าทั้งหลายเช่น
    • รายได้จากการฉีดโบท็อกซ์ ร้อยไหม ฉีดสารเติมเต็ม
    • รายได้ขายครีมสำหรับทาหลังจากทำศัลยกรรม
    • ค่าฉีดบำรุงด้วยวิตามิน ล้างสารพิษ เมโสหน้าใส
    • รายได้เกี่ยวกับสิว ฉีดสิว ลดรอยสิว แผลเป็นจากสิว ครีมบำรุง และรักษาสิว ฝ้า กระ รอยด่างดำ
    • รายได้จากค่าอาหารเสริม

    หากรายได้เหล่านี้เป็นรายได้จากการประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล  และอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลกำหนด ถือว่าเป็นรายได้ของสถานพยาบาลทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในข่ายที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มทุกรายการ แต่ถ้าหากไม่ได้ประกอบกิจการภายใต้กฎหมายสถานพยาบาล เช่น ขายอาหารเสริม โดยไม่มีข้อแนะนำใดๆ จากแพทย์ผู้รักษาพยาบาล เช่นร้านขายยาทั่วไป ถือเป็นรายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

 3.เช็กประเภทในการเปิดกิจการ

การเปิดคลินิกก็เหมือนกับการประกอบธุรกิจทั่วไป คือ จะต้องมีการลงทุน ทั้งค่าเช่า ค่าอุปกรณ์ รวมถึงเครื่องมือพิเศษ ซึ่งอาจมีเงินลงทุนที่สูง แพทย์หลายๆ คนจึงเลือกที่จะร่วมลงทุนกับแพทย์หรือนักลงทุน เพื่อเปิดคลินิก หรืออาจเลือกที่จะเปิดคนเดียวก็ได้เช่นกัน ซึ่งการเลือกประเภทของการเปิดกิจการนั้นจะส่งผลต่อการวางแผนภาษีในอนาคต แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.กรณีประกอบกิจการในนามของบุคคลธรรมดา

ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง คือ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.94 โดยต้องยื่นแบบสตง. รายการและเสียภาษีเงินได้ภายในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60 ของเงินได้ หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้
  2. ภาษีเงินได้บุคคลลธรรมดาประจำภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.90 โดยต้องยื่นแบบสตง. รายการและเสียภาษีเงินได้ภายในนิติบุคคลภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำจำนวนภาษีเงินได้ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ดมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้

2.กรณีประกอบกิจการในนามของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคคล

ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง คือ

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน2 เดือนนับตั้งแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่รอบระยะเวลาบัญชีปีแรกและปีสุดท้ายที่มีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.51 ในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมา หักออกจากภาษีที่คำนวณได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50

จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการในด้านภาษีของธุรกิจเสริมความงามไม่อยากเลยใช่ไหมคะ หรือหากถ้ายังมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการวางแผนภาษี การวางระบบบัญชี หรือต้องการปรึกษาปัญหาของธุรกิจ สามารถติดต่อเราได้ที่ CHIC ACCOUNTING หรือแอดไลน์เพื่อพูดคุยเพิ่มเติมได้ที่ ไอดีไลน์ Chicaccounting

ที่มา : https://www.rd.go.th/27827.html