สรุปเข้าใจง่ายเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอัปเดต 2565

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เพื่อให้การแชร์ข้อมูลมีความถูกต้องจึงขออัปเดตและสรุปแบบเข้าใจง่ายเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปีภาษี 2565-2566 ตามข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจและการคลัง โดยยังใช้อัตราคงที่แบบเดียวกับเมื่อครั้งจัดเก็บของปีภาษี 2563-2564 แต่จะไม่ทำการปรับลดอัตราลง 90% ถึงอย่างนั้นในภาพรวมผู้เสียภาษีเองยังถือว่าได้รับการบรรเทาภาระภาษีจากทางภาครัฐอยู่หลายด้าน

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างครอบคลุมที่ดินทั้งสิ้น 4 ประเภท

  1. ที่ดินสำหรับการประกอบเกษตรกรรม อัตราการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 0.01 – 0.1%
  2. ที่อยู่อาศัย อัตราการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 0.02 – 0.1% ทั้งนี้ยังแบ่งออกได้อีก 3 หมวดย่อย คือ
  • ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยมีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา มีอัตราการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 0.03 – 0.1%
  • สิ่งปลูกสร้างโดยมีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มีอัตราการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 0.02 – 0.1%
  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่น ๆ ที่ต่างไปจาก 2 ข้อแรก มีอัตราการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 0.02 – 0.1%
  1. 3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้งานในแบบข้อ 1 และ ข้อ 2 รวมถึงที่ดินที่อยู่ในกลุ่มพาณิชกรรมและกลุ่มอุตสาหกรรม มีอัตราการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 0.3 – 7%
  2. 4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ว่างเปล่า ไม่ได้ถูกนำไปทำให้เกิดประโยชน์ตามควรกับสภาพ ยกเว้น กรณีมีกฎหมายห้าม หรือถูกทิ้งเอาไว้สำหรับใช้งานด้านการเกษตร พื้นที่ถูกปล่อยไว้ใช้สำหรับพัฒนาโครงการ มีอัตราการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 0.3 – 0.7%

จากที่อธิบายมายังสามาถสรุปสิ่งที่ผู้ต้องเสียภาษีได้รับการบรรเทาภาระภาษีรวมแล้วแยกออกเป็น 4 กรณี ประกอบไปด้วย

  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและถูกใช้งานเพื่อประกอบด้านเกษตรกรรมได้รับการยกเว้นภาษี
  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ได้รับการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • หากเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง ได้รับการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีเฉพาะสิ่งปลูกสร้างมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท
  • ได้รับการผ่อนปรนสำหรับผู้ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วยมูลค่าสูงกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน รวมถึงภาษีบำรุงท้องที่ซึ่งเคยชำระในปี 2562 โดยให้เสียมูลค่าเท่ากับภาษีปี 2562 บวก 75% ของส่วนต่างค่าภาษีของปี 2565 และ 2562

จากที่กล่าวมาหากคุณคือผู้ที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์ด้วยมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือ 50 ล้านบาท ตามที่ระบุไว้ ก็แทบไม่ส่งผลกระทบใด ๆ มากนัก แต่สำหรับใครมีเกินจากมูลค่าที่ระบุจะต้องเสียภาษีเต็มอัตราเฉพาะในส่วนที่เกินมาเท่านั้น