สรุป กฎหมาย e-Service

สรุป กฎหมาย e-Service

กฎหมาย e-Service คือ กฎหมายการเก็บภาษีที่ใช้กับการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ โดยธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งให้บริการดาวน์โหลด ภาพยนต์ เพลง เกมส์ สติ๊กเกอร์ นายหน้า สื่อโฆษณา เป็นต้น รวมถึงแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการในไทย ได้แก่ Google , Facebook , PayPal , Apple , Netflix , Line , YouTube และ Tiktok ที่มีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

Facebook

Facebook มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% จากการยิง Ads ทั้งบัญชีส่วนตัวและบัญชีธุรกิจ โดยการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะไม่กระทบกับวงเงินในการโฆษณา เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะถูกคำนวณและคิดเพิ่มตอนชำระค่าบริการ และสำหรับบัญชีที่ใช้การเติมเงินก่อนการยิง Ads จะถูกคำนวณ VAT ทันทีเพื่อไม่ให้มีการยิง Ads เกินจำนวนเงินที่เติมเข้ามา ซึ่งการที่ Facebook คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มจากการยิง Ads จะทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบส่งผลให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้นตามจึงทำให้ผู้ซื้อสินค้าได้รับผลกระทบ

Google  

Google มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% จากผู้ที่มีรายได้ผ่านช่องทาง Google Ads ในประเทศไทย ที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศ โดยผู้ที่มีบัญชี Google Ads ของประเทศไทยจะได้รับอีเมลแจ้งจากทาง Google Payments (payments-noreply@google.com) เพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% สำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่กรณีที่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (ID) ของประเทศไทยอยู่แล้ว

PayPal

PayPal มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ตามข้อกำหนดที่ทางสรรพากรออกกฎหมาย e-Service ไว้ โดยจะคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากค่าธรรมเนียมของ PayPal ทั้งหมด ผู้ใช้งานจะได้รับข้อมูลใบแจ้งหนี้ภาษี และระบุจำนวนภาษีที่มีการเรียกเก็บ