สำนักงานผู้แทน (Representative Office) คืออะไร
คือ นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และมีความต้องการที่จะเข้ามาตั้งสำนักงานในประเทศไทย เพื่อช่วยให้บริษัทต่างสามารถวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสของตลาดได้ โดยการเปิดสำนักงานตัวแทนไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในการดำเนินการ จึงทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้การที่จะสามารถจดทะเบียนสำนักงานผู้แทน (Representative Office) ในประเทศไทยได้นั้น ผู้ขอจดต้องอยู่ในเงื่อนไขและปฏิบัติตามระเบียบดังนี้
สำหรับการจดทะเบียนเปิด สำนักงานผู้แทน (Representative Office) ในประเทศไทย มีข้อกำหนดดังนี้
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ครอบคลุมธุรกิจ 5 ประเภท โดยสำนักงานผู้แทนสามารถให้บริการประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทั้ง 5 ประเภท ก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะธุรกิจของสำนักงานผู้แทน ดังนี้
- เป็นแหล่งสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้กับสำนักงานใหญ่
- ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่ซื้อหรือเช่าเพื่อผลิตในประเทศไทย โดยสำนักงานใหญ่
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าของสำนักงานใหญ่ซึ่งขายให้กับตัวแทนหรือผู้บริโภค
- การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่
- รายงานแนวโน้มทางธุรกิจในประเทศไทยไปยังสำนักงานใหญ่
โดยสำนักงานผู้แทนนั้นจะต้องมีลักษณะครบทั้ง 2 ประการ
- สำนักงานผู้แทนจะให้บริการแก่สำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ หรือในกลุ่มเท่านั้น โดยไม่มีรายได้จากการให้บริการ นอกจากได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น
- สำนักงานผู้แทนไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อ หรือเสนอขาย หรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ
เมื่อได้รับอนุญาตในการเป็นสำนักงานตัวแทนแล้ว จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ต้องนำส่งทุนขั้นต่ำเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
- เงินกู้ทั้งสิ้นที่ใช้ในการประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ต้องไม่เกินเจ็ดเท่าของเงินที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาต
- ผู้รับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่าหนึ่งคน
- ต้องนำส่งหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาต เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือเรียกพบ หรือ สอบถาม
- ต้องจัดทำบัญชีและนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สำหรับโครงสร้างภาษีเงินได้ และภาษีการค้า สำหรับสำนักงานผู้แทนจะมีภาระและหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของสำนักงานผู้แทนดังกล่าว ดังต่อไปนี้
- กิจการที่จัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ ให้ถือว่าสินค้าที่ส่งออกไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งออกไป เป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออก
- เว้นแต่กิจการตามข้อที่ 1 บริษัทแม่อยู่ในประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทย ก็จะถือว่ากิจการดังกล่าวไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
- การที่สำนักงานผู้แทนที่ทำกิจการในประเทศไทย ได้มีการให้บริการต่าง ๆ แก่สำนักงานใหญ่ โดยที่สำนักงานใหญ่ได้มีการมอบเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้แก่สำนักงานผู้แทนในประเทศไทย รายรับหรือเงินได้ที่ดังกล่าวไม่ถือเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้า
- แต่ถ้าสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยตามข้อ 3 ได้ให้บริการแก่ผู้อื่น ไม่ว่าการให้บริการนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสำนักงานผู้แทนดังกล่าวประกอบกิจการในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องนำรายได้หรือรายรับที่ได้รับจากการให้บริการทุกประเภทมารวมคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
- การประกอบกิจการของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยตามข้อ 4 จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนการค้า ณ อำเภอท้องที่หรือสำนักงานสรรพากร ที่สำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีสถานการค้าตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการตามข้อ 4
- การประกอบกิจการตามข้อ 1 และข้อ 2 ของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย หากสินค้าที่ส่งออกอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีการค้า สำนักงานผู้แทนดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ส่งออกมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า และการขายของแห่งบัญชีอัตราภาษีการค้ากับจะต้องเสียภาษีส่วนท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีการค้าที่ต้องชำระด้วย
- คนต่างด้าวที่ทำงานในสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามระยะเวลาที่ทำงานในประเทศไทย และสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินได้
สิ่งที่ต้องรู้ ! สำหรับการแจ้งเลิก จดทะเบียนเลิก ปิดสำนักงานผู้แทน ในประเทศไทย
- จะต้องทำการจดทะเบียนเลิกที่กระทรวงพาณิชย์
- จัดทำงบการเงิน และตรวจสอบ งบเลิกสำนักงานผู้แทน
- การเลิกสำนักงานผู้แทน ผู้จัดการสำนักงานจะต้องดำเนินการจะต้องแจ้งเลิกประกอบการ ฝ่ายทะเบียนนิติบุคคลต่างด้าว กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันเลิกประกอบกิจการ
- สำนักงานผู้แทนยังคงมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกประกอบกิจการ เพื่อนำยื่นต่อกรมสรรพากร ภายใน 150 วัน นับจากวันที่ได้แจ้งฝ่ายทะเบียนนิติบุคคลต่างด้าว
Chic Accounting สามารถซับพอร์ต สำนักงานผู้แทนได้ ดังนี้
สำนักงานบัญชี Chic Accounting เป็นสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์มามากกว่า 30 ปี มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านภาษี บัญชี จดทะเบียนพาณิชย์ ปิดงบการเงิน จัดทำบัญชีรายเดือน รายปี และบริการ virtual accountant ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
สำหรับสำนักงานผู้แทน Chic Accounting สามารถให้บริการด้านต่างๆ ได้ดังนี้
- การจดทะเบียนจัดตั้งสำนักงานผู้แทน
- การจัดเก็บหลักฐานการนำเงินข้าประเทศไทยอย่างเป็นระบบ
- จัดทำบัญชี ทั้งแบบรายเดือน, ไตรมาส, รายปี ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- บริการด้านภาษี่ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานผู้แทน
- บริการตรวจสอบบัญชี
- จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง รายการสำคัญ ของสำนักงานผู้แทน
- จดทะเบียนเลิก (ปิด) สำนักงานผู้แทน ในประเทศไทย
- เป็นผู้ดูและภาษี และแจ้งเป็นผู้ทำบัญชี ตามกฎหมาย พร้อมให้บริการ สอบบัญชี จัดเตรียมเอกสารประกอบนำยื่น และนำยื่น ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนข้อมูลทางบัญชีและภาษีให้แก่สำนักงานใหญ่
- บริการ virtual accountant ผู้ช่วยทางบัญชี
หากมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถทักหาเราได้ที่ Chic Accounting ผู้ช่วยทางบัญชีที่ดีที่สุด
ที่มา: https://www.rd.go.th/3538.html