ใกล้เทศกาลปีใหม่ เทศกาลแห่งความสุขที่ทุกคนรอคอย หลาย ๆ บริษัทจึงมีการจัดงานเลี้ยงและมอบของขวัญปีใหม่ ( Happy New Year’s Gift ) แก่พนักงาน ลูกค้า หรือตัวแทนจำหน่าย แน่นอนว่าเมื่อผู้ประกอบการจ่ายเงินออกไป ย่อมต้องอยากได้รายจ่ายตรงส่วนนี้มาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท คำถามคือ จะนำค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้มาใช้อย่างถูกต้องในทางภาษีได้อย่างไร ? และภาษีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานเลี้ยงและให้ของขวัญในเทศกาลปีใหม่ เพื่อตอบข้อสงสัยดังกล่าว วันนี้เราจึงมาสรุปประเด็นให้เข้าใจแบบง่าย ๆ กัน
ผู้ประกอบการจัดงานเลี้ยงหรือให้ของขวัญพนักงาน
-
ในกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการจัดงานเลี้ยงปีใหม่ให้พนักงาน
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ
- ภาษีนิติบุคคล
ผู้ประกอบการจะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ก็ต่อเมื่อ มีการระบุอย่างชัดเจนในระเบียบสวัสดิการของพนักงาน และจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพื่อจัดงานเลี้ยงให้แก่ส่วนรวม ไม่ใช่การจัดให้เฉพาะเจาะจงกับคนใดคนหนึ่ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีซื้อ)
ภาษีซื้อของที่นำมาจัดในงานเลี้ยง เช่น อาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถใช้เป็นภาษีซื้อได้ ก็ต่อเมื่อเป็นการซื้อมาจัดเลี้ยงให้ทั้งบริษัท ไม่ใช้การจัดเลี้ยงเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง และต้องมีการระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการซื้ออาหารเหล่านั้นมาเป็นสวัสดิการของพนักงาน จึงสามารถนำค่าใช้จ่ายจำนวนนั้นมาคิดเป็นภาษีซื้อได้
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน
- ภาษีบุคคลธรรมดา
หากในงานเลี้ยงผู้ประกอบการมีการแจกเงินรางวัล เงินตรงส่วนนี้จะถือว่าเป็นการได้รับฟรี ตามขนบธรรมเนียมประเพณีของบริษัท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปร่วมคำนวณกับเงินเดือนของพนักงาน
-
ในกรณีที่จับสลากเลี้ยงปีใหม่
ส่วนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการ
- ภาษีนิติบุคคล
ของขวัญที่นำมาจับฉลาก ผู้ประกอบการจะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ก็ต่อเมื่อ ระบุอย่างชัดเจนในระเบียบสวัสดิการของพนักงาน และจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพื่อจัดงานเลี้ยงให้แก่ส่วนรวม ไม่ใช่การจัดให้เฉพาะเจาะจงกับคนใดคนหนึ่ง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีซื้อ
ปกติแล้วการซื้อของมาจับสลากปีใหม่ เป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรง ดังนั้นจึงไม่สารถนำภาษีซื้อมาคิดได้ แต่หากมีการระบุลงไปในระเบียบอย่างชัดเจนว่าเป็นสวัสดิการของพนักงานและจะต้องให้ทุกคน โดยไม่เลือกปฎิบัติกับคนใดคนหนึ่ง จึงจะสามารถนำภาษีซื้อมาคำนวณหักกับภาษีขายได้
ภาษีขาย
ภาษีขาย การมอบสินค้าของกิจการเป็นของขวัญจับสลาก ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำใบกำกับภาษี
*กรณีบริษัทออกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้ จะถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามของบริษัท
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน
- ภาษีบุคคลธรรมดา
กรณีที่จับสลากหรือชิงโชค แล้วได้รับรางวัลในงานเลี้ยงปีใหม่ ของขวัญชิ้นนั้นจะถือเป็นเงินได้ของพนักงานคนนั้น ต้องตีราคาของขวัญที่ได้รับเป็นราคาตลาดแล้วนำมาคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาร่วมกับเงินได้ต่าง ๆ ของพนักงาน
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เมื่อผู้ประกอบการมอบของขวัญให้พนักงาน บริษัทจะต้องหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่พนักงานด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทก็จะเป็นคนออกค่าภาษีตรงนี้ให้กับพนักงาน ข้อแนะนำ : เมื่อบริษัทออกค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้พนักงาน หากบริษัทต้องการนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทจะต้องมีการทำสัญญาว่าจะออกค่าภาษีให้ หากไม่มีสัญญาว่าจะออกค่าภาษี จะถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม
ข้อแนะนำการประหยัดภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้คือ
***ผู้ประกอบการควรเลือกให้รางวัลจับฉลากปีใหม่ เป็นเงินหรือบัตรกำนัลกับพนักงานแทนของขวัญ เนื่องจากเงินไม่ถือเป็นสินค้า จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการให้ของขวัญแก่ตัวแทนจำหน่ายเพื่อนำไปส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลปีใหม่
ภาษีที่เกี่ยวข้อง คือ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
หากผู้ประกอบการแจกสินค้าเพื่อส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลปีใหม่ ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย หรือ ตัวแทนจำหน่ายรายย่อย ที่สามารถนำสินค้าแจกนี้ไปขายต่อได้ ให้กิจการมีหน้าที่ต้อง หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3
การแจกของขวัญหรือของชำร่วยให้แก่ลูกค้าในเทศกาลปีใหม่
นอกจากปีใหม่จะมีการสังสรรค์จับฉลากกันภายในองค์กรแล้ว ในทุก ๆ ปี ผู้ประกอบการหลายท่านมักจะมีการนำกระเช้าของขวัญหรือของชำร่วยไปสวัสดีปีใหม่แก่ลูกค้าผู้ให้การสนับสนุนกันมาตลอดทั้งปี ของขวัญที่นำไปมอบให้กับลูกค้าดังกล่าว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
ส่วนที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีซื้อ ของขวัญหรือของชำร่วยที่กิจการมอบให้ลูกค้า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ จัดเป็นภาษีซื้อต้องห้ามเพราะทางกฎหมายถือเป็นค่ารับรอง จึงไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายได้ แต่สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายค่ารับรองได้
ภาษีขาย ในกรณีที่กิจการนำของขวัญ หรือของชำร่วยไปมอบให้ลูกค้าเพื่อสวัสดีปีใหม่ ตามขนบธรรมเนียมประเพณี ถือเป็นการขายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำมูลค่าของขวัญดังกล่าวไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมออกใบกำกับภาษี ยกเว้นแต่ว่าของขวัญหรือของชำร่วยเหล่านี้ เข้าเงื่อนไขเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
- ต้องเป็นของขวัญหรือของชำร่วยที่เป็นสินค้าจำพวกปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน โดยมีชื่อของผู้ประกอบการ ชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการปรากฏอยู่
- มูลค่าของขวัญหรือของชำร่วยที่มอบให้ลูกค้า จะต้องมีราคาไม่สูงเกินสมควร อีกทั้งยังเป็นการประหยัดภาษีอีกด้วย
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ของขวัญหรือของชำร่วยที่ให้แก่ลูกค้าถือเป็นค่ารับรอง ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายไปหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด สำหรับภาษีซื้อต้องห้ามที่มิให้ขอคืนภาษี สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายค่ารับรองได้โดยต้องเป็นค่ารับรองตามหลักเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด ดังนี้
เป็นการให้ของขวัญ หรือรายจ่ายตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป หรือเทศกาลสำคัญต่างๆ
- เป็นการจ่ายรับรองให้กับบุคคลภายนอก
- ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ และมีหลักฐานการจ่ายอย่างถูกต้อง
- ค่าสิ่งของที่กิจการนำค่าใช้จ่ายไปหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ถ้าเป็นสิ่งของราคาต้องไม่เกิน 2,000 บาท ต่อชิ้น (รวม VAT) และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน3% ของยอดรายได้ ยอดขาย หรือทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ขึ้นอยู่ที่ว่ายอดไหนมากที่สุด และต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ของขวัญหรือของชำร่วยที่ผู้ประกอบการได้แจกให้แก่ลูกค้านั้นถือว่าเป็นการขายสินค้า ผู้ประกอบการไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
สรุปแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ