สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการทำงานในไทย หรือคนไทยที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศอาจสงสัยว่า Work permit คืออะไร ทำที่ไหน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาตอบข้อสงสัยเหล่านี้แบบเข้าใจง่าย ๆ กันค่ะ
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับ Work permit
Work permit หรือ ใบอนุญาตทำงาน คือ เอกสารที่สำคัญสำหรับการประกอบอาชีพของชาวต่างชาติ ที่ต้องการเข้าไปทำงานในประเทศนั้น ๆ เพื่อประกอบธุรกิจ กิจการ หรือเป็นลูกจ้างตามระยะสัญญาที่กำหนด ซึ่งการเข้ามาทำงานในประเภทในฐานะของลูกจ้างนั้น การใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือจะเป็นหน้าที่ของนายจ้างในแต่ละประเทศ เป็นผู้ดำเนินการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้ โดยนายจ้างหรือกิจการนั้น ๆ จะต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงแรงงานของประเทศนั้นให้สามารถรับลูกจ้างต่างชาติได้ เมื่อใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ของลูกจ้างหมดหมดอายุ จะต้องทำการต่อใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ใหม่ทันที และหากนายจ้างมีการเปลี่ยนลูกจ้าง จะต้องทำการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ใหม่เช่นกัน
work permit มีกี่ประเภท
- ประเภทที่ 1 ใบอนุญาตทำงาน (ตท.๑๑) หรือ 11 ใช้สำหรับนักลงทุน แรงงานฝีมือ ผู้เชี่ยวชาญ หรือชำนาญการ แรงงานนำเข้าตาม MOU แรงงานที่ผ่านการตรวจสอบสัญชาติ รวมถึงแรงงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำที่ต้องใช้เอกสารนี้คู่กับบัตรแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ตามข้อ 5
- ประเภทที่ 2 ใบอนุญาตทำงาน (ตท.๑๕) หรือ ใช้สำหรับแรงงานไป-กลับ หรือตามฤดูกาลตามมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551
- ประเภทที่ 3 ใบอนุญาตทำงาน (ตท.๑๑) หรือ 11 แม้ชื่อจะเหมือนกับแบบแรก แต่เล่มนี้จะเป็นสีส้ม ขนาดกว้าง 12.7 ซม. ยาว 8.89 ซม. ใช้สำหรับเฉพาะแรงงานในกิจการประมงทะเลทุกกลุ่ม ยกเว้นแรงงานประมงทะเลในข้อ 4
สำหรับต่างชาติที่ต้องการเข้ามาทำงานที่ประเทศไทยต้องทำอย่างไรบ้าง ?
ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทั้งการประกอบธุรกิจ กิจการ หรือแม้กระทั่งลูกจ้าง
- หากยังไม่มีวีซ่าธุรกิจ (Visa Non-B) จะต้องทำการยื่นขอจากสถานกงสุลไทย ณ ประเทศนั้น ๆ หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งจะมีอายุ 90 วัน
- กรณีผู้ขออยู่ต่างประเทศ ต้องทำการขอที่จากสถานกงสุลไทย ณ ประเทศนั้น ๆ
- กรณีผู้ขออยู่ในประเทศไทย ต้องทำการขอที่สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
- เมื่อได้รับวีซ่าธุรกิจ (Visa Non-B)แล้วให้รีบดำเนินการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) (ตท.1) ซึ่งมีอายุ 1 ปี ที่กรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน
- เมื่อได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ซึ่งมีอายุ 1 ปี จึงจะสามารถเริ่มทำงานในประเทศไทยได้ แล้วจึงไปยื่นต่ออายุ วีซ่าธุรกิจ (V isa Non-B)3 เดือน เป็น 1 ปี ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ภายใน 30 วัน
มาถึงตรงส่วนนี้ หลายคนคงสงสัยว่า แล้วใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) กับ วีซ่าธุรกิจ (Visa Non-B) ต่างกันและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
รายละเอียด | visa | work permit |
วัตถุประสงค์ | สำหรับขออนุญาตเพื่อเข้าต่างประเทศ โดยผู้ที่ขอไม่ได้มีสัญชาติของประเทศนั้น | ใบอนุญาตทำงานหรือใบอนุญาตประกอบอาชีพสำหรับชาวต่างชาติ |
ประเภท | คนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa)
นักท่องเที่ยว (Tourist Visa) คนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) |
ตท.๑๑ หรือ WP. 11 เล่มสีน้ำเงิน
ตท.๑๕ หรือ WP. 15 ตท.๑๑ หรือ WP. 11 เล่มสีส้ม |
สถานที่ขอเอกสาร | สถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ | กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน |
ความสัมพันธ์กัน | ต้องทำการขอก่อนเดินทางเข้ามาประเทศ หรือหากอยู่ในประเทศและต้องการทำงาน ต้องเปลี่ยนสถานะในวีซ่าเป็น Visa Non-B | ต้องมีวีซ่าธุรกิจ (Visa Non-B)ก่อน จึงจะสามารถยื่นขอใบอนุญาตทำงานได้ แล้วจึงยื่นต่ออายุ Visa Non-B เป็น 1 ปี |
สรุปง่าย ๆ ว่าหากชาวต่างชาติ ต้องการมาทำงานที่ไทย จะต้องขออนุญาตทั้ง 2 อย่างนี้ควบคู่กัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เลยค่ะ
คุณสมบัติของชาวต่างชาติที่จะขอ ใบอนุญาตทำงาน นั้นแบ่งออกเป็น 4 ข้อดังนี้
- ชาวต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เขามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวว่าด้วยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (Non-Immigrant) นั้น จะต้องไม่ได้รับอนุญาตให้เขามาในฐานะนักท่องเที่ยว (Tourist) หรือเดินทางผ่าน (Transit) ซึ่งจะอนุญาตทำงานในครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงขอใหม่
- ชาวต่างชาติที่จะขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ได้นั้นต้องมีความสามารถในการทำงานตามที่ได้ขออนุญาต
- ชาวต่างชาติที่จะสามารถขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) นั้นจะต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั้นเฟืองไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะสุดท้าย โรคเท้าช้างในระยะอาการอันเป็นที่รังเกียจต่อสังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และ โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
- ชาวต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตทำงาน ( Work permit ) ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือ กฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต
เอกสารสำหรับยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน ( Work permit ) มีดังต่อไปนี้
- แบบคำขอ ต.ม.1 และรูปถ่ายขนาด 3×4 เซนติเมตร (1 นิ้วครึ่ง) จำนวน 3 รูป ( ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ที่ไม่ใช่รูปจากคอมพิวเตอร์/โพลารอยด์ )
- หนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงความจำเป็นในการจ้างแรงงานต่างด้าว กรณีบริษัทผ่าน BOI หรือ กนอ ให้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงเหตุผลที่ไม่ยื่นใช้สิทธิ์ BOI หรือ กนอ. พร้อมสำเนาบัตรส่งเสริม
- หนังสือรับรองการจ้างงาน หรือ สัญญาจ้าง
- สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน
- ใบรับรองแพทย์
- สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมฉบับจริง
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในกรณีที่เป็นการประกอบวิชาชีพที่กฏหมายกำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง(กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว ใช้สำเนาใบอนุญาตทำงาน )ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
*หากท่านไม่แน่ใจว่าเอกสารครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ แนะนำให้ใช้บริการกับบริษัทรับทำ Work Permit จะช่วยดูแลจัดการได้ง่ายและสะดวกกว่ายื่นด้วยตัวเอง
เอกสารที่ประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง
สถานประกอบการเอกชน
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคลไทย และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน ) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นสำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวออกตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542 พร้อมนำหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาใช้จ่ายในประเทศ
- สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ภ.พ.01 และ ภ.พ.20 ) ที่ระบุประเภทกิจการ ภ.พ. 09 หากมีการเปลี่ยนแปลง
- กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง หากนายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทย และไม่มีใบอนุญาตทำงานต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงนามแทน
- กรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงาน ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่นหนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน , หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม , ใบอนุญาตองค์กรอาหารและยา , ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว , ใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็น สถานที่จำหน่ายอาหาร ฯลฯ
- บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว พร้อมเลขที่ใบอนุญาตทำงาน อยู่ในสถานประกอบการ แผนภูมิการแบ่งงานและแผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- สำเนาหลักฐานการจ่ายเงินประกันสังคมเดือนล่าสุด และสำเนาเอกสารรายได้ที่เป็นปัจจุบัน ได้แก่งบการเงิน และ ภงด.50 หรือ ภงด. 51(ปีล่าสุด) และ ภพ.30
- รูปถ่ายสถานประกอบการ 4รูป ป้ายชื่อบริษัท 1รูป ด้านหน้าเห็นตัวอาคาร 1รูป ภายใน 2รูป (รูปถ่ายในโรงงาน 2รูป) ถ้ามี
โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน
2.1 สำเนาหนังสือแต่งตั้งครูหรือผู้สอน (ผู้ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน) ปฏิบัติหน้าที่ พร้อมสัญญาจ้าง / มหาวิทยาลัยเอกชนให้แสดงหนังสือรับรองการหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยระบุชื่อคนต่างด้าว ตำแหน่งและระยะเวลาการจ้าง
2.2 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้นตำแหน่งครูฝึกสอน หรือใบผ่อนผันใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
2.3 สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ และใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ / ใบอนุญาตต่าง ๆ (ถ้ามี) / สำเนาใบจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามของมหาวิทยาลัย
2.4 เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา/ เอกสารแสดงผลการศึกษารายวิชา และเอกสารแสดงประสบการณ์การเป็นครู (ถ้ามี)
หน่วยงานราชการ
3.1 หนังสือรับรองจากส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ / องค์การมหาชน / เขตการศึกษา (กรณีครูโรงเรียนรัฐบาล ) โดยระบุชื่อ ตำแหน่ง และระยะเวลาการจ้างงาน
3.2 กรณีครูโรงเรียนรัฐบาลให้แสดงใบประกอบวิชาชีพครู ( ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ) ยกเว้น ตำแหน่งครูฝึกสอน
มูลนิธิหรือสมาคม
4.1 หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ สมาคม วัตถุประสงค์ พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ
กิจการถ่ายหรือทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ
5.1 หนังสือรับรองจากสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว ใบอนุญาตเป็นผู้ประสานงาน พร้อมรายชื่อ – ตำแหน่งงาน และเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
5.2 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน6 เดือน)
หมายเหตุ 1. เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย ที่มีการรับรองความถูกต้อง
- สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง ดังนี้
- เอกสารของนายจ้าง ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท (ถ้ามี) หรือผู้รับมอบอำนาจ
- เอกสารของสารต่างด้าวให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ